บริษัทเงินทุนในประเทศไทย


บริษัทเงินทุน

บริษัทเงินทุน คือ บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุน โดยการรับฝากเงินจากประชาชนและการให้กู้ยืมเงิน เช่น การให้กู้ยืมเงินระยะปานกลางและระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตร หรือพาณิชยกรรม การให้เช่าซื้อ (Hire Purchase) การให้เช่าทรัพย์ (Leasing) เป็นต้น
ขอบเขตธุรกิจ  
ขอบเขตธุรกิจบริษัทเงินทุนไม่ครอบคลุมถึงการให้บริการด้านธุรกรรมปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกอ่น จึงไม่สามารถทำธุรกรรม แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Fx) รวมถึงธุรกรรมสินเชื่อที่สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ (Trade Financing) ได้ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้บริษัทเงินทุนยังไม่สามารถประกอบธุรกิจบัตรเครดิตได้ 

การดำเนินงานของบริษัทเงินทุน

แบ่งออกเป็น

      1.การให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจรายใหญ่..เป็นบริการคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์แต่ไม่สามารถให้บริการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และ บัญชีกระแสรายวันที่ใช้เช็คสั่งจ่ายในการรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนจะไม่ออกสมุดรับฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงิน แต่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ให้กู้ยืม(ผู้ฝาก) โดยจะกำหนดเวลาชำระคืนเอาไว้ เช่น เมื่อทวงถาม 1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี การระดมเงินออมของบริษัทเงินทุนจะเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์เพราะมีการกำหนดวงเงินขึ้นต่ำที่จะกู้ยืมจำนวนสาขามีน้อยหรือไม่มีเลยแต่การให้ผลตอบแทนในรูดอกเบี้ย ในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์สามารถทดแทนความเสียเปรียบข้างต้นได้ สำหรับการใช้สินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหญ่มีการให้กู้ทั้งประเภทระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี หรือ ระยะยาวเกิน 1 ปี

      2.การให้กู้ยืมแก่ธุรกิจการค้าทั่วไป เป็นการให้บริการทางการเงินเหมือนธนาคารพาณิชย์ คือ เป็นการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก บริษัทการค้าธรรมดา ร้านค้า และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งลักษณะการให้กู้จะเป็นการให้กู้ในวงเงินไม่สูงนัก และ เป็นการกู้ระยะสั้น

      3.การให้กู้ยืมแก่ผู้บริโภค เป็นการให้บริการเงินกู้แก่บุคคลธรรมดา เพื่อการศึกษา เดินทาง หรือการซ่อมแซมบ้านเรือน การให้เงินกู้เพื่อผ่อนส่งสินค้าเมื่อตกลงจะให้เช่าซื้อ และการให้กู้ยืนแก่ผู้ดำเนินธุรกิจ การจำหน่ายสินค้าโดยการให้เช่าซื้อเช่น รถยนต์ รถแทรกเตอร์ ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการกู้เงินเป็นระยะป่านกลางไม่เกิน 3 ทั้งนี้รวมถึงการให้กู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์และเครดิตฟองซิเอร์เข้ามาบริการด้วย

ที่มา : https://ruenthai125.blogspot.com/2010/05/blog-post_5208.html

รายชื่อบริษัทเงินทุนในประเทศไทย

 
      บง. ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)  

บง. แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

ที่มา : https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/WebsiteFI/Pages/InstList.aspx?pit1=5




 บง. ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)  

      บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 เพื่อประกอบธุรกิจด้านวานิชธนกิจ โดยธุรกิจได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2527 ภายใต้ชื่อหลักทรัพย์ "BFIT" ปัจจุบันประกอบธุรกิจเงินทุนเต็มรูปแบบ การดำเนินธุรกิจโดยรวมของบริษัท อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ในส่วนของเงินฝากของบริษัท ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ได้รับการคุ้มครองตามที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดไว้

ที่มา : http://www.bfit.co.th/home/index2


บง. แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)



      บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเงินทุนเต็มรูปแบบจากกระทรวงการคลัง  ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย   บริษัทพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทยในปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์อันโดดเด่นของคณะผู้บริหารที่มีทักษะในการดำเนินธุรกิจประกอบกับทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้บริการ ทำให้บริษัทสามารถสร้างสรรค์บริการทางการเงินที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของลูกค้าหลากกลุ่ม หลายประเภท ทั้งลูกค้าสถาบัน, นิติบุคคล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงลูกค้าบุคคล และลูกค้าธนบดี

ที่มา : http://www.advancefin.com/ABOUT-US/About-Us.aspx#.WvFsWIiFPIU



พระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ. 2522
–––––––––––––––––––
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัตินี้ไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครคิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522
มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และประกาศอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 3 ทวิ(2) พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในเคหสถาน สิทธิใน ทรัพย์สินของบุคคล และ เสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคสองมาตรา 48 และมาตรา 50 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
ธุรกิจเงินทุน หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้
(1) กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์
(2) กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา
(3) กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค
(4) กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
(5) กิจการเงินทุนอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และให้กู้ยืมเงินระยะสั้น รวมทั้ง การเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินเป็นทางค้าปกติ

กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และให้กู้ยืมเงินระยะปานกลาง หรือ ระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรมเป็นทางค้าปกติ
กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค หมายความว่ากิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และทำการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ
(1) ให้กู้ยืมเงินเพื่อให้ใช้เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าโดยชำระราคาเป็นงวด ๆ หรือโดยให้เช่าซื้อ
(2) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชน เพื่อให้ใช้ในการซื้อสินค้าจากกิจการที่มิใช่ของตนเอง
(3) ให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากกิจการซึ่งจำหน่ายสินค้านั้นเมื่อได้ตกลงจะให้เช่าซื้อ หรือให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าซึ่งยึดได้จากผู้เช่าซื้อรายอื่น
(4) รับโอนโดยมีค่าตอบแทนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า
กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชนและทำการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ
(1) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัย
(2) ให้กู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยสำหรับจำหน่ายแก่ประชาชนหรือให้ประชาชนเช่าซื้อ หรือ
(3) จัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยมาจำหน่ายแก่ประชาชนรวมทั้งให้ประชาชนเช่าซื้อ
จัดหาเงินทุนจากประชาชน(1) หมายความรวมถึง กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย
บัตรเงินฝาก(2) หมายความว่า ตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่บริษัทเงินทุนออกให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้
ให้กู้ยืมเงิน เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจเงินทุน หมายความรวมถึงรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ตราสารเปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต
ให้กู้ยืมเงินระยะสั้น หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันให้กู้ยืม
ให้กู้ยืมเงินระยะปานกลาง หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เกินหนึ่งปี แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันให้กู้ยืม
ให้กู้ยืมเงินระยะยาว หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เกินห้าปีนับแต่วันให้กู้ยืม
เงินกองทุน หมายความว่า
(1) ทุนชำระแล้วซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่บริษัทได้รับ และเงินที่บริษัทได้รับจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้น
(2) ทุนสำรอง
(3) เงินสำรองที่ได้จัดสรรจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือตามข้อบังคับของบริษัท แต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้
(4) กำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร

(5) เงินสำรองจากการตีราคาสินทรัพย์ เงินสำรองอื่น และ
(6) เงินที่บริษัทได้รับเนื่องจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ
เงินกองทุนตาม (1) (2) (3) และ (4) ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ชนิด ประเภท และการคำนวณเงินกองทุนตาม (5) หรือ (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ให้หักเงินตามตราสารใน (6) ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทอื่นที่บริษัทนั้นถือไว้และสินทรัพย์อื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
หลักทรัพย์ หมายความว่า
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) พันธบัตร
(3) หุ้นหรือหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้นหรือหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงการเข้าชื่อซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้
(4) ใบสำคัญแสดงสิทธิในเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจากหลักทรัพย์
(5) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการลงทุนซึ่งผู้ประกอบกิจการจัดการลงทุนไม่ว่าใน หรือ นอกประเทศเป็นผู้ออก
(6) ตราสารอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หมายความว่า ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ประเภท ดังต่อไปนี้
(1) กิจการเครดิตฟองซิเอร์
(2) กิจการรับซื้อฝาก
(3) กิจการอื่นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กิจการเครดิตฟองซิเอร์ หมายความว่า กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ
กิจการรับซื้อฝาก หมายความว่า กิจการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝากเป็นทางค้าปกติ
บริษัทจำกัด หมายความว่า บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัท  หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
บริษัทเงินทุน หมายความว่า บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หมายความว่า บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
สำนักงานสาขา หมายความรวมถึง สำนักงานใด ๆ ซึ่งแยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไปประกอบการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของบริษัท

ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
ผู้จัดการ หมายความรวมถึงรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการและผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย
สถาบันการเงิน หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
มาตรา 6 รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ เพื่อ ปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ก็ได้
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 6 ทวิ(4) ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรองประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ  ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ และให้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและ ตรวจสอบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ให้คำเสนอแนะต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ในการออกข้อกำหนด และ การดำเนิน มาตรการใด ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
(1) แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
(2) ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
(3) ออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นใดให้เป็นธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการหรือแบบบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
(5) ออกประกาศตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงตาม (3) ให้ระบุความหมายของกิจการที่กำหนดด้วยและจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การประกอบกิจการนั้น ไว้ด้วยก็ได้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด 1
การจัดตั้งบริษัทและการขอรับใบอนุญาต

มาตรา 8 การประกอบธุรกิจเงินทุน หรือการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จะกระทำได้ต่อเมื่อ ได้จัดตั้งในรูป บริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และโดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ จากรัฐมนตรี ในการให้ความเห็นชอบ รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
การควบบริษัทเข้ากันให้ถือว่าเป็นการจัดตั้งบริษัทจำกัด
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ และเสียค่าธรรมเนียม ตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 9 ในการออกใบอนุญาตตามมาตรา 8 รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
เงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่ง เมื่อรัฐมนตรีเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน รัฐมนตรีจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมก็ได้ และจะกำหนดให้เงื่อนไข ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมนั้น มีผลบังคับเมื่อ ระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ล่วงพ้นไปแล้วก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา 10 บริษัทอาจมีสำนักงานสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ในการอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
มาตรา 10 ทวิ ผู้ใดจะกระทำการแทนบริษัทซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไป ในราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
มิให้นำมาตรา 13 และมาตรา 52 มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
หมวด 2
บริษัทเงินทุน

มาตรา 11 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจเงินทุน
มาตรา 12 บริษัทเงินทุนต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า บริษัทเงินทุน นำหน้าและ จำกัด ต่อท้าย
มาตรา 13ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทเงินทุนใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า เงินทุน การเงิน การลงทุน เครดิต ทรัสต์ ไฟแนนซ์ หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์ หรือสำนักงาน ที่กระทำการแทน ธนาคารต่างประเทศ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
มาตรา 14 บริษัทเงินทุนต้องมีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดซึ่งต้องไม่ต่ำกว่า หกสิบล้านบาท
หุ้นบริษัทเงินทุนที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหุ้นของบุคคลตามวรรคสองด้วย
(1) คู่สมรสของบุคคลตามวรรคสอง
(2) บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามวรรคสอง

(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลตามวรรคสองหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลตามวรรคสองหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
(5) บริษัทจำกัดที่บุคคลตามวรรคสองหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกัน เกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น หรือ
(6) บริษัทจำกัดที่บุคคลตามวรรคสองหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทจำกัดตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
มาตรา 15 ห้ามมิให้บริษัทเงินทุนใดจำหน่ายหุ้นของบริษัทเงินทุนนั้นอันจะทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งถือหุ้นเกินอัตรา ที่กำหนดตามมาตรา 14
มาตรา 16 หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทเงินทุนต้องเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือมีมูลค่าของหุ้นไม่เกิน หุ้นละ หนึ่งร้อยบาท และข้อบังคับของบริษัทเงินทุนต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น เว้นแต่ เพื่อเป็นการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
มาตรา 17 บริษัทเงินทุนต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนนั้น รัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจ ผ่อนผัน ให้มีจำนวนผู้ถือหุ้นหรือกรรมการเป็นอย่างอื่นได้ในการผ่อนผันนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 18 เมื่อปรากฏว่าการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทเงินทุนเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดถือหุ้นเกินจำนวนที่จะถือได้ตาม มาตรา 14 บุคคลนั้นจะยกเอาการถือหุ้นในส่วนที่เกินจำนวนดังกล่าวขึ้นใช้ยันต่อบริษัทเงินทุนนั้นมิได้ และบริษัทเงินทุนนั้น จะจ่ายเงินปันผล หรือเงินตอบแทนอย่างอื่นให้แก่บุคคลนั้นหรือให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นตาม จำนวนหุ้น ในส่วนที่เกินมิได้
มาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา 14 วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 17 และมาตรา 18 ให้บริษัทเงินทุน ตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกคราวก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นและก่อนจ่ายเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นใด แล้วแจ้งผล การตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามรายการและภายในเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และในกรณีที่ พบว่าผู้ถือหุ้นรายใดถือหุ้นเกินจำนวนที่กำหนดในมาตรา 14 ให้บริษัท เงินทุนแจ้งให้ผู้นั้นทราบ เพื่อดำเนินการ จำหน่ายหุ้น ที่เกินนั้นเสีย
มาตรา 20 ห้ามมิให้บริษัทเงินทุนกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ลดทุนหรือเพิ่มทุนโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ในการอนุญาตรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
(2) ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่
(ก) เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับเป็นที่พัก หรือเพื่อสวัสดิสงเคราะห์ของพนักงานและลูกจ้างของบริษัทเงินทุนนั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนได้มาจากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงิน หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของบริษัทเงินทุน หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ

(ค) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะมีไว้เพื่อประกอบธุรกิจนั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
ในการอนุญาตตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
(3) รับหุ้นของบริษัทเงินทุนนั้นเป็นประกัน หรือรับหุ้นของบริษัทเงินทุนจากบริษัทเงินทุนอื่นเป็นประกัน
(4) ซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดใดเป็นจำนวนเกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้ความเห็นชอบธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
(5) ซื้อหรือมีหุ้นบริษัทเงินทุนอื่น เว้นแต่
(ก) เป็นการได้มาจากการชำระหนี้ หรือการประกันการให้กู้ยืมเงิน แต่ต้องจำหน่ายภายในเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้มา
(ข) เป็นการได้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจอื่นที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หรือ
(ค) เป็นการได้มาโดยได้รับผ่อนผันจากรัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการผ่อนผันนั้น จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(6) ประกอบกิจการอื่นใดนอกจากธุรกิจเงินทุนในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
สำหรับบริษัทเงินทุนที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาให้ได้รับยกเว้นที่จะประกอบการดังต่อไปนี้ได้ด้วย
(ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการจัดหาเงินกู้ยืมหรือเงินลงทุนให้แก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม หรือการจัดการเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่หรือการลงทุนในกิจการดังกล่าว
(ข) การให้บริการจัดทำหรือวิเคราะห์โครงการเพื่อการลงทุน
(ค) การเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเงินหรือการดำเนินงานของกิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม
(ง) การเป็นที่ปรึกษาในการจัดซื้อกิจการหรือการจัดการควบธุรกิจเข้าด้วยกัน
สำหรับบริษัทเงินทุนที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์ให้ได้รับยกเว้น ที่จะประกอบ ธุรกิจการ ค้ำประกัน  ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7) ให้กรรมการของบริษัทเงินทุนนั้นกู้ยืมเงิน
การกระทำดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการให้กรรมการนั้นกู้ยืมเงินด้วย
(ก) การให้กู้ยืมเงินแก่คู่สมรสหรือบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ
(ข) การให้กู้ยืมเงินแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือบุคคลตาม (ก) เป็นหุ้นส่วน
(ค) การให้กู้ยืมเงินแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (ก) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น

(ง) การให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (ก) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นรวมกัน เกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
(จ) การให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (ก) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจำกัดตาม (ง) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
(ฉ) การรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการหรือบุคคลตาม (ก) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจำกัดตาม (ง) หรือ (จ) เป็นผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกตั๋ว หรือผู้สลักหลัง
(ช) การประกันหนี้ใด ๆ ของกรรมการหรือบุคคลตาม (ก)หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจำกัดตาม (ง) หรือ (จ)
(8) ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขาของบริษัทเงินทุนโดยมิได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(9) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทเงินทุนนั้น เป็นค่านายหน้าหรือ ค่าตอบแทน สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจใด ๆ ของบริษัทเงินทุนนั้น ทั้งนี้ นอกจากบำเหน็จเงินเดือน รางวัล และ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
(10) ขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด แก่กรรมการ หรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ ทั้งนี้ รวมถึงบุคคลตาม (ก) ห้างหุ้นส่วนตาม (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจำกัดตาม (ง) หรือ (จ) ของ (7) วรรคสองด้วย เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(11) โฆษณากิจการของบริษัทเงินทุนนั้น เว้นแต่การโฆษณานั้นจะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(12) ทำสัญญาหรือยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานของบริษัทเงินทุน มีอำนาจทั้งหมด หรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทเงินทุน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(13) กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือ เป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 21เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ให้บริษัทเงินทุนแจ้งแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นหนังสือ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
(1) การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับของบริษัทเงินทุน
(2) การเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทเงินทุน
มาตรา 22 ห้ามมิให้บริษัทเงินทุนตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงาน หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุน
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย

(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทเงินทุนอื่น
(5) ถูกถอดถอนจากการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการ ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 57 ทวิ (1)
(6) เป็นข้าราชการการเมือง
(7) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่
(ก) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเพื่อเข้าไปช่วยเหลือในการดำเนินงาน ของบริษัท เงินทุน หรือ
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 57 ทวิ (2)
(8) เป็นผู้จัดการ หรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด ซึ่งตน หรือบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัดตามมาตรา 20 (7) วรรคสอง เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่ เว้นแต่
(ก) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุนซึ่งไม่มีอำนาจในการจัดการ
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นจากรัฐมนตรีเพราะมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทเงินทุน
(ค) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 57 ทวิ (2)
(9) เป็นบุคคลซึ่งมิได้มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรือคุณสมบัติอื่น ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
(10) มีลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
บริษัทเงินทุนจะแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุน หรือทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงานของบริษัทเงินทุนได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้ ความเห็นชอบมิได้ และในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคาร แห่ง ประเทศไทย เพิกถอนความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้ว และให้บริษัทเงินทุนเสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อ ขอความเห็นชอบ จากธนาคาร แห่งประเทศไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนความเห็นชอบ
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุคคลซึ่งบริษัทเงินทุนทำสัญญาให้มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงานของบริษัทเงินทุนนั้น ตลอดจนผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่บุคคลนั้นด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 22 ทวิ(1) ให้บริษัทเงินทุนจัดทำบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินให้ครบถ้วนถูกต้องเป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง บัญชีนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
มาตรา 22 ตรี ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหรือจ่ายเงิน การทำนิติกรรมใด ๆ ตลอดจนการตรวจสอบและควบคุมภายในได้

มาตรา 23 ให้บริษัทเงินทุนประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้วภายในสี่เดือน นับแต่วันสิ้นปีธุรกิจ ของบริษัทเงินทุน ตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทเงินทุนนั้น และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับภายในยี่สิบเอ็ดวันนับจากวันที่ได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้เสนอต่อ รัฐมนตรีและ ธนาคาร แห่งประเทศไทยแห่งละหนึ่งฉบับ
ให้บริษัทเงินทุนประกาศรายการหรือเปิดเผยข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับบริษัทเงินทุนนั้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดประกาศรายการหรือข้อมูลดังกล่าวให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทเงินทุนนั้น และให้รายงานต่อรัฐมนตรี และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบพร้อมด้วยสำเนาประกาศรายการหรือข้อมูลที่เปิดเผยแห่งละหนึ่งฉบับ
งบดุลตามวรรคหนึ่งจะต้องมีการรับรองของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีนั้น ต้องเป็นผู้ซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้ ความเห็นชอบทุกรอบปีบัญชี และต้องมิใช่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทเงินทุนนั้น
ผู้สอบบัญชีตามวรรคสาม ต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานการตรวจสอบ และรับรองบัญชีให้เป็นไปตาม มาตรฐาน ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี รวมทั้งมาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเพิ่มขึ้นด้วย ในกรณีที่ บริษัท เงินทุนได้ทำเอกสารประกอบการลงบัญชีและหรือลงบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริง ให้ผู้สอบบัญชี เปิดเผยข้อเท็จจริง อันเป็น สาระสำคัญ ของบัญชีและแจ้งพฤติการณ์ไว้ ในรายงานการสอบบัญชี ที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมทั้งรายงาน พฤติการณ์นั้น ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบด้วย
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคสี่ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีผู้นั้นได้
มาตรา 23 ทวิ(4) ให้บริษัทเงินทุนปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน ถ้าบริษัทเงินทุนนั้นมีสินทรัพย์ที่ ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้หรือที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ให้บริษัทเงินทุนนั้น ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวออกจากบัญชี หรือกันเงินสำรอง สำหรับสินทรัพย์ ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวเมื่อสิ้นงวดการบัญชีนั้น เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต จากธนาคาร แห่งประเทศไทย ให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่น ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ถ้านำสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ในส่วนที่ ไม่ได้ตัดออกจากบัญชี หรือสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ในส่วนที่ไม่ได้กันเงินสำรอง มาหักออกจาก เงินกองทุนของบริษัทเงินทุนนั้นแล้ว หากปรากฏว่าเงินกองทุนที่คงเหลือมีจำนวนต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามมาตรา 29 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดมาตรการใด ๆ ให้บริษัทเงินทุนนั้น ถือปฏิบัติจนกว่าจะได้ตัดสินทรัพย์ ที่ไม่มีราคา หรือเรียกคืนไม่ได้นั้นหมดสิ้นไป หรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้นั้นครบจำนวนแล้ว
มาตรา 23 ตรี รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยื่นรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุน เป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะ โดยมีรายการและระยะเวลาตามที่กำหนด และจะให้ทำคำชี้แจงข้อความเพื่ออธิบาย หรือขยายความ แห่งรายงานนั้นก็ได้
มาตรา 24 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้บริษัทเงินทุนบริษัทใดยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใด ตามระยะเวลา หรือเป็นครั้งคราวตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดก็ได้ และธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้ทำคำชี้แจง เพื่ออธิบายหรือ ขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้
รายงานและเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่งบริษัทเงินทุนต้องทำให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง

มาตรา 25 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ บริษัทเงินทุนต้องจัดให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้สอบบัญชี ของบริษัทเงินทุน มาให้ถ้อยคำ หรือแสดงสมุดบัญชี เอกสารและหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการของบริษัทเงินทุนนั้นตามความประสงค์ ของพนักงาน เจ้าหน้าที่
มาตรา 26 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าบริษัทเงินทุนใด
(1) จัดทำบัญชีไม่เรียบร้อยหรือไม่ทำให้เสร็จภายในเวลาอันสมควร
(2) จัดความสัมพันธ์ของระยะเวลาการกู้ยืมเงินจากประชาชนกับระยะเวลาในการเรียกคืนเงินให้กู้ยืมหรือลงทุนไม่เหมาะสม
(3) ให้กู้ยืมเงินแก่หรือลงทุนในกิจการที่บริษัทเงินทุน กรรมการผู้จัดการ หรือพนักงาน หรือบุคคลผู้มีอำนาจ ในการจัดการ ของบริษัทเงินทุนนั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนนั้นใน ปริมาณเกินสมควร หรือมีเงื่อนไข หรือข้อกำหนดพิเศษผิดไปจากปกติ หรือ
(4) กระทำการหรือไม่กระทำการที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ดังต่อไปนี้
(ก) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนดเป็นเนืองนิจ
(ข) ให้กู้ยืมเงินเกินอัตราส่วนที่กำหนดหรือไม่มีหลักประกันเป็นปริมาณมาก
(ค) ไม่ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ออกจากบัญชีถึงขนาดที่จะกระทบกระเทือนถึงฐานะของบริษัทเงินทุนนั้น
(ง) ไม่กันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ถึงขนาดที่จะกระทบกระเทือนถึงฐานะของ บริษัทเงินทุนนั้น
(จ) กระทำการหรือไม่กระทำการตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้บริษัทเงินทุนนั้นแก้ไขการกระทำดังกล่าว หรือกระทำการ หรืองดกระทำการ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรภายในเวลาที่กำหนด
บริษัทเงินทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สั่งการเมื่อมีกรณีตาม (4) ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานต่อรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมบริษัทเงินทุนนั้นหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ โดยให้นำความในหมวด 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 26 ทวิ(1) เมื่อบริษัทเงินทุนใดมีผลขาดทุนถึงจำนวนที่ทำให้เงินกองทุนลดลงเหลือสามในสี่ของทุนซึ่งชำระแล้ว ไม่ว่าโดยบริษัทเงินทุนนั้นตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี หรือของธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนนั้น จะกู้ยืมเงิน หรือรับเงินจากประชาชนต่อไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้ความเห็นชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินหรือการลงทุน หรือเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
ถ้าผลขาดทุนตามวรรคหนึ่งทำให้เงินกองทุนลดลงเหลือไม่เกินกึ่งหนึ่งของทุนซึ่งชำระแล้ว ให้บริษัทเงินทุนนั้น เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะและการดำเนินงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขอความเห็นชอบ ภายในสิบสี่วัน นับแต่วันที่ บริษัทเงินทุนหรือผู้สอบบัญชีตรวจพบหรือวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้บริษัทเงินทุนนั้นทราบ ในการให้ความเห็นชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ และให้แจ้งให้บริษัทเงินทุนนั้นทราบโดยมิชักช้า
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ให้ความเห็นชอบในโครงการตามวรรคสอง บริษัทเงินทุนนั้น อาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ ภายในสิบสี่วันนับ แต่วันที่ได้รับแจ้ง คำชี้ขาดของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ให้บริษัทเงินทุนที่มีผลขาดทุนตามวรรคสอง ระงับการดำเนินกิจการทันทีจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้ความเห็นชอบ ในโครงการเพื่อแก้ไขฐานะและการดำเนินงาน หรือรัฐมนตรีจะได้มีคำชี้ขาดให้ดำเนินการตามโครงการนั้นได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ดำเนินกิจการบางอย่างได้
ในกรณีที่บริษัทเงินทุนต้องดำเนินการลดทุนหรือเพิ่มทุนตามโครงการที่รับความเห็นชอบตามวรรคสองหรือตามคำชี้ขาดตามวรรคสาม มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัทเงินทุน และมาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 139 มาตรา 140 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ
มาตรา 26 ตรี(3) บริษัทเงินทุนใดหยุดทำการจ่ายเงินที่มีหน้าที่จะต้องคืนเงิน ให้บริษัทเงินทุนนั้น แจ้งให้รัฐมนตรีและ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทันที และห้ามมิให้ดำเนินกิจการใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี และ ให้บริษัทเงินทุนนั้น ส่งรายงานเพิ่มเติมโดยละเอียดแสดงเหตุที่ต้องหยุดทำการจ่ายเงินภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่หยุดทำการจ่ายเงิน
เมื่อรัฐมนตรีได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสอบสวนพฤติการณ์ และเมื่อได้รับรายงานการสอบสวนแล้ว ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรหรือจะสั่งควบคุมบริษัทเงินทุน หรือเพิกถอน ใบอนุญาตก็ได้ โดยให้นำความในหมวด 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 26 จัตวา(1) เพื่อแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทเงินทุน หรือเพื่อประโยชน์ ในการรักษา เสถียรภาพ ทางการเงินหรือระบบสถาบันการเงิน ให้รัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้บริษัทเงินทุน ระงับการดำเนินกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด และในการนี้จะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 27 ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงิน หรือรับเงินจากประชาชนในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) วงเงินขั้นต่ำ
(2) ระยะเวลาชำระคืน
(3) หลักเกณฑ์และวิธีการในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน
การกำหนดตามมาตรานี้ จะกำหนดตามประเภทธุรกิจเงินทุน ประเภทกิจการ หรือประเภทของบุคคลก็ได้
มาตรา 27 ทวิ(2) บริษัทเงินทุนจะรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้โดยวิธีออกบัตรเงินฝากก็ได้
บัตรเงินฝากต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นบัตรเงินฝาก
(2) ชื่อบริษัทเงินทุนผู้ออกบัตรเงินฝาก
(3) วันที่ออกบัตรเงินฝาก
(4) จังหวัดที่ออกบัตรเงินฝาก
(5) ข้อตกลงอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินเป็นจำนวนหนึ่งที่แน่นอนพร้อมด้วยดอกเบี้ย (ถ้ามี)
(6) วันถึงกำหนดจ่ายเงิน
(7) สถานที่จ่ายเงิน
(8) ชื่อของผู้ฝากเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ
(9) ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทเงินทุนผู้ออกบัตรเงินฝาก
มาตรา 27 ตรี(3) ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ถึงมาตรา 907 มาตรา 911 มาตรา 913 (1) และ (2) มาตรา 914 ถึงมาตรา 916 มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาตรา 918 ถึงมาตรา 922 มาตรา 925 มาตรา 926 มาตรา 938 ถึง มาตรา 942 มาตรา 945 มาตรา 946 มาตรา 948 มาตรา 949 มาตรา 959 มาตรา 967 มาตรา 971 มาตรา 973 มาตรา 986 มาตรา 994 ถึงมาตรา 1000 มาตรา 1006 ถึงมาตรา 1008 มาตรา 1010 และมาตรา 1011 มาใช้บังคับแก่บัตรเงินฝากโดยอนุโลม
มาตรา 28 ให้บริษัทเงินทุนดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับเงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือได้รับจาก ประชาชน อันบริษัทเงินทุนมีหน้าที่จะต้องชำระคืนให้แก่บุคคลเหล่านี้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
การกำหนดอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดตามประเภทของบุคคลที่บริษัทเงินทุนกู้ยืมหรือได้รับเงินก็ได้
สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ สินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
การกำหนดสินทรัพย์สภาพคล่อง จะกำหนดอัตราส่วน ระหว่างสินทรัพย์สภาพคล่องแต่ละประเภท หรืออัตราส่วน ตามประเภท ธุรกิจเงินทุนก็ได้
อัตราส่วนที่ดำรงนั้น จะกำหนดให้ถือเอาส่วนเฉลี่ยตามระยะเวลามากน้อยเท่าใดก็ได้
มาตรา 29(1) ให้บริษัทเงินทุนดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา 29 ทวิ(2) ให้บริษัทเงินทุนดำรงเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนซึ่งชำระแล้วไว้เป็นสินทรัพย์ตามชนิด วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา 30 ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายได้ในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน
(2) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจเรียกได้
(3) ค่าบริการที่บริษัทเงินทุนอาจเรียกได้
(4) ผลประโยชน์ที่บริษัทเงินทุนอาจเรียกได้จากการให้เช่าซื้อ
(5) หลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก
บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นใดที่อาจกำหนดเป็นเงินได้ ที่บุคคลใดได้รับจากบริษัทเงินทุน หรือพนักงาน หรือลูกจ้าง ของบริษัทเงินทุนนั้น เนื่องจากการที่บริษัทเงินทุนกู้ยืมเงิน หรือรับเงิน หรือที่บริษัทเงินทุน หรือพนักงาน หรือ ลูกจ้าง ของบริษัทเงินทุนนั้น ได้รับเนื่องจาก การประกอบธุรกิจนั้นของบริษัทเงินทุน ให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดค่าบริการ หรือผลประโยชน์ใน (1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี เว้นแต่ค่าบริการตาม (3) ไม่ให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลด ที่บริษัทเงินทุน อาจเรียกได้ตาม (2)

การกำหนดตามมาตรานี้ จะกำหนดตามประเภทธุรกิจเงินทุนหรือตามประเภทการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน หรือประเภทกิจการ ที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียก หรือจะกำหนดวิธีการคำนวณและระยะเวลาการจ่ายหรือระยะเวลาเรียกเก็บได้
มาตรา 31 ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องต่อไปนี้ อันเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค หรือกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
(1) จำนวนเงินที่ต้องชำระครั้งแรกและครั้งต่อ ๆ ไป เป็นอัตราส่วนกับยอดเงินให้เช่าซื้อแต่ละราย
(2) ระยะเวลาในการให้เช่าซื้อ
(3) วิธีการชำระเงิน
(4) เงื่อนไขการริบเงินที่ได้รับชำระแล้ว และการกลับเข้าครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ
(5) วิธีการแสดงผลประโยชน์ที่บริษัทเงินทุนเรียกเก็บ
มาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศหรือเพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบ ของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การให้กู้ยืมเงินแก่กิจการประเภทใดประเภทหนึ่งไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนด
(2) วงเงินสูงสุดที่บริษัทเงินทุนจะให้กู้ยืมแก่และหรือรับรองและรับอาวัลตั๋วเงินที่เกิดจากกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือวงเงินสูงสุดที่บริษัทเงินทุนจะให้เช่าซื้อ
(3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทเงินทุนจะให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง และหรือจะให้กู้ยืมแก่ผู้ดำเนินกิจการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น
มาตรา 33 ในการกำหนดอัตราตามมาตรา 32(1) ให้กำหนดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินที่บริษัทเงินทุนได้กู้ยืมและรับจากประชาชน ณ ขณะใดขณะหนึ่ง และอัตราที่กำหนดนั้นรวมกันทั้งสิ้นต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของยอดเงินดังกล่าว
การกำหนดวงเงินสูงสุดตามมาตรา 32(2) จะกำหนดเป็นอัตราส่วน กับยอดเงินที่บริษัทเงินทุน ให้กู้ยืมและหรือ รับรองและ รับอาวัลตั๋วเงินหรือ ยอดเงินที่บริษัทเงินทุน ให้เช่าซื้อ และยังคงค้างชำระอยู่ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง หรือเป็นอัตราส่วน กับเงินกองทุน ของบริษัทเงินทุน หรือยอดเงินที่บริษัทเงินทุน ได้กู้ยืม และรับจากประชาชน ณ ขณะใดขณะหนึ่งก็ได้
การกำหนดวงเงินสูงสุดตามมาตรา 32(3) จะกำหนดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินที่บริษัทเงินทุนได้ให้เช่าซื้อ และหรือ ได้ให้กู้ยืมแก่ผู้ดำเนินกิจการให้เช่าซื้อทั้งสิ้น ซึ่งยังคงค้างชำระอยู่ในวันที่กำหนด หรือเป็น อัตราส่วนกับยอดเงิน ที่บริษัทเงินทุน ได้ให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น ๆ และหรือได้ให้กู้ยืมแก่ ผู้ดำเนินกิจการ ให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น ๆ ซึ่งยังคงค้างชำระอยู่ในวันที่กำหนดหรือเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนก็ได้
มาตรา 34 ให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบ ของรัฐมนตรีในเรื่องต่อไปนี้
(1) การลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
(2) การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือโดยมีหลักทรัพย์เป็นประกัน

มาตรา 35(1) ห้ามมิให้บริษัทเงินทุนให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนในกิจการของผู้อื่นหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินจำนวนเงินหรือ อัตราส่วนกับเงินกองทุนทั้งหมด หรือเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใด หรือหลายชนิดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด ด้วย ความเห็นชอบ ของรัฐมนตรี ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาต ธนาคาร แห่งประเทศไทย จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
การให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนในกิจการของบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนหรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งด้วย
(1) คู่สมรสของบุคคลตามวรรคหนึ่ง
(2) บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามวรรคหนึ่ง
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หรือ เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
(5) บริษัทจำกัดที่บุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกัน เกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
ในการให้กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันตามวรรคหนึ่ง ถ้าบุคคลตามวรรคหนึ่ง เป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม หรือก่อภาระผูกพัน หรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันรวมกัน จะต้องไม่เกิน อัตราส่วนกับ ทุนหรือ เงินกองทุนของบุคคลนั้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับผ่อนผัน จากธนาคาร แห่งประเทศไทย ในการ ผ่อนผัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเฉพาะธุรกิจเงินทุนบางประเภท และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
การกำหนดตามมาตรานี้ จะกำหนดตามประเภทธุรกิจเงินทุนแต่ละประเภทก็ได้
มาตรา 36 ความในมาตรา 35 ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่บริษัทเงินทุน
(ก) ให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือ หลักทรัพย์อื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(ข) ให้กู้ยืมเงินโดยมีประกันด้วยหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือทรัพย์สินอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินราคาของหลักประกัน การคำนวณราคาของหลักประกัน ถ้าเป็นหลักทรัพย์รัฐบาลไทยให้ถือตามราคาที่ตราไว้ ถ้าเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้ถือตามราคาตลาด ถ้าไม่มีราคาตลาดให้ถือตามราคาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
มาตรา 37 บริษัทเงินทุนต้องเปิดทำตามเวลา และหยุดทำการตามวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ให้เปิดทำการหรือหยุดทำการในเวลาหรือวันอื่นจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการอนุญาตดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

มาตรา 38 การกำหนดตามมาตรา 20(2) (ค) และ (11) มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 เว้นแต่การกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ที่มา : http://www.thailandroad.com/legal/act06.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปิดฉากความขัดแย้ง! "เงินติดล้อ" ฟ้อง "ศรีสวัสดิ์"

เงินติดล้อแจงฟ้อง “ศรีสวัสดิ์”-ไล่บี้เอาผิดเจตนาลอกแบรนด์

BFIT จะเข้าทำสัญญาบริหารจัดการสินเชื่อกับศรีสวัสดิ์ 2014 เป็นเวลา 2 ปี มูลค่า 1.89 พันลบ.